29 | 03 | 2567
เมนูหลัก
คณะผู้บริหารและสมาชิก
การดำเนินงานของ อบต.
ข้อมูลสำหรับประชาชน
กฎและระเบียบต่างๆ
 
pl
 
 
 
 
 
 
S 11542536
 
         8 ธ.ค.64 งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ ได้ออกบริการ รับ-ส่ง ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงโควิด19 เพื่อไปกักตัว ณ สถานที่กักตัว อำเภอทับคล้อ จ.พิจิตร
 
 
               qa12qa11
 
 
 
คู่มือสำหรับประชาชน สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ อบต.ทับคล้อ
 
 1. การจดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่  กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
 2. การจดทะเบียนพาณิชย์เปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน  กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
 3. การจดทะเบียนพาณิชย์เลิกประกอบพาณิชยกิจ กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
 
                                                                                            Click 01 2566
 
สารประชาสัมพันธ์

คำแนะนำในการป้องกันอัคคีภัย

        เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีเวรผลัดเปลี่ยนรับผิดชอบพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบสื่อสารติดต่อประสานงานรวดเร็ว พร้อมที่จะออกปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุเพลิงไหม้ทันทีที่ได้รับแจ้ง

เหตุเพลิงไหม้โทรแจ้ง อบต.ทับคล้อ 0 5664 1624
     การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทางโทรศัพท์ เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้ โทรศัพท์แจ้ง ให้บอกสถานที่ที่เกิดเหตุ บริเวณใกล้เคียง ถนน ตรอก ซอย พร้อมชื่อที่อยู่ของผู้แจ้งให้ชัดเจนด้วย

ข้อควรจำ
     การออกปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แต่ละครั้ง ผู้เป็นเจ้าของสถานที่เกิดเหตุไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

คำแนะนำในการป้องกันอัคคีภัย
    การป้องกันอัคคีภัย ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ อย่างเด็ดขาดและเสมอไป เพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเหมือน "ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ" และความประมาท เลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัย ในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมายแต่ก็มีหลักการง่ายๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ
1. การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่นการขจัดสิ่งรกรุงรังภายใน อาคารบ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน เป็นบันไดขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย
2. การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และปลอดภัยก็จะ ป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น
3. อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น 
  1. อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
  2. อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้
  3. อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมดทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
  4. อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้วเสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
  5. อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิด ปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน
  6. อย่าเปิดเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์แล้วลืมปิด
  7. วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็นติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น
  8. อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็นบางครั้งสัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม่ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็น ที่มีไออุ่นเกิดการคุไหม้ขึ้น
  9. อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลลาสต์ที่ใช้ กับหลอดไฟฟ้าฟลูเรซเซ่นท์ เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
  10. อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลม พัดคุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไป จุดติดบริเวณใกล้เคียง
  11. อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้
  12. อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราและเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
  13. อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ
  14. ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟ ถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊ส และถังแก๊สให้เรียบร้อย
  15. เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบางๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้
  16. ดีดีที , สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด
  17. เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อยเมื่อวางทับอยู่ฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตราย จากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
  18. เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้องเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ อย่างแน่นอน
  19. เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว
  20. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำเบนซินเกิดการรั่วไหล ก็น่าเกรงอัคคีภัยมาก
  21. ในสถานที่บางแห่ง มีการเก็บรักษาสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายอาจคุไหม้ขึ้น ได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมัน และน้ำมันลินสีค เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้ อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของโรงเรียนเคยมีเหตุเกิดจากขวดบรรจุฟองฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัดตกลงมาเกิดแตกลุกไหม้ขึ้น
  22. ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟฟ้า การตัดเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส หรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วยความระมัดระวังอาจเกิดไฟคุไหม้ขึ้นได้ ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ให้ไว้และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วางไว้เพื่อ ความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ

4. ความร่วมมือที่ดีจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้ให้ไว้

5. ประการสุดท้าย
     จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรด เพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องดับเพลิงเคมีไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการ ใช้เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้

  1. แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที หรือสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
  2. ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
  3. หากดับเพลิงชั้นต้นไม้ได้ปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย ข้อควรปฏิบัติ
  • ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
  • อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหตุ
  • ขนย้ายเอกสาร และทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกองรวม อย่าให้ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก 

ข้อควรระวัง และวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว

  1. เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที
  2. เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง
  3. ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว
  4. ใช้ไม้กวาด กวาดแก๊สออกทางประตู
  5. ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที
  6. หากถังแก๊สมีรอยรั่ว ให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย
  7. ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ
  8. ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียง

สารประชาสัมพันธ์: งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ

 

 

เอกสารเผยแพร่ประชาธิปไตย 

dc 01

dc 02

dc 03

dc 04

dc 05

dc 06